วันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2561

เราเป็นหนี้่ธรรมชาติ

ความต้องการของมนุษย์มากเกินกว่าที่ธรรมชาติจะสร้าง ทดแทนได้
เพราะเราตัดต้นไม้ได้เร็วกว่าที่ต้นไม้จะโตเต็มที่ จับปลาได้ มากกว่าที่มหาสมุทรจะสามารถเติมเต็มให้เราใหม่ได้
หรือปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ สู่บรรยากาศมากกว่าที่ผืนป่าและมหาสมุทรจะดูดซับได้

ผลที่ตามมาคือทรัพยากรที่มีสะสมอยู่ลดน้อยลงและมีการสะสมของของเสียเร็วกว่าที่ความสามารถที่จะถูกดูดซับหรือรีไซเคิลได้

และนี่คือความท้าทายที่มากขึ้นส󰄞ำหรับมนุษย์ที่จะรักษาความสามารถที่เพิ่มขึ้นในการรองรับเชิงนิเวศของโลกในขณะที่ภาวะดินเสื่อมสภาพ น้ำจืดขาดแคลน สูงขึ้น

รอยเท้านิเวศ
ตัวชี้วัดเพิ่อ ธรรมชาติที่ยั่งยืน (อาหาร น้ำ และพลังงาน)
หลักการ คือ การใช้ทรัพยากรผ่านทางกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์จะก่อให้เกิดรอยเท้า การมีรอยเท้าที่มากบ่งบอกได้ถึงการใช้ทรัพยากรที่มากเกินขอบเขตที่ทรัพยากรนั้นๆจะรองรับได้ ซึ่งอาจบ่งชี้ได้ถึงการเพิ่มของรอยเท้าก่อให้เกิดความไม่ยั่งยืนต่อทรัพยากรดังกล่าว

การลดรอยเท้านิเวศ
คือ การใช้ที่ดิน และ การจัดการทรัพยากร ที่เหมาะสม สู่ ทรัพยากรยั่งยืน จึงต้องเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภค และ การผลิต สู่ เกษตรอินทรีย์ เกษตรเชิงนิเวศ การบริโภคอาหารคลีน เพื่อรักษาสุขภาพ และยังเป็นการลดรอยเท้านิเวศด้วย

เศรษฐกิจชุมชน

เศรษฐกิจชุมชน หมายถึง กิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆไม่ว่าจะเป็นการผลิต การบริโภค  การจำหน่าย ที่คนในท้องถิ่นชุมชนได้มีส่วนร่วมคิดร่วมทำร่วมรับประโยชน์ของประชาชน และร่วมกันเป็นเจ้าของ

จากศักยภาพของชุมชน ภูมิปัญญา ท้องถิ่น และ  ทุนชุมชน ทุนที่ไม่ใช่เงินทุน อาทิวัฒนธรรม ประเพณี สภาพดิน น้ำ ภูมิประเทศ

ตามหลัก เศรษฐศาสตร์
การขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ต้องมีพลวัต และสามารถที่จะอยู่รอดได้ด้วยตัวเอง  พัฒนาร่วมกับพัฒนาการของระบบทุนนิยม ซึ่งเป็นเรื่องยากหากไม่มีการรวมกลุ่มของห่วงโซ่อุปทาน ชุมชน

เมื่อปัจจัยที่สำคัญต่อการอยู่รอดของ เศรษฐกิจชุมชน  คือ ความสามารถในกายืนได้ในทาง เศรษฐกิจด้วยตนเอง ดังนั้น หน่วยธุรกิจในห่วงโซ่อุปทาน จึงต้องเป็นผู้ประกอบการชุมชน ทั้งระบบ หรือ มากที่สุด ตั้งแต่
1 ผู้เพาะปลูก
2 ผู้คัดแยก/ผู้รวบรวม/ส่งมอบ
3 ผู้แปรรูป
4 ผู้พัฒนา/แบรนด์
5 ผู้ขนส่งฯ
6 ผู้ค้าส่ง
7 ผู้กระจายสินค้า
และ8 ผู้ค้าปลีก
ทั้ง8 หน่วยธุรกิจ ต้องเป็นเครือข่ายกับชุมชน ้ชุมชนจึงจะยืนอยู่ในเศรษฐกิจระบบทุนได้

มีต่อ...

บันทึกไว้โดย
สานิตย์ จิตต์นุพงศ์

แนะนำตัว


#HappyUncle #FolkFarm
จากประสบการณ์ที่หลากหลายของแฮปปี้อังเคิล เราค้นพบว่า
ภูมิปัญญาท้องถิ่น และ ภูมิอัตลักษณ์ เป็นเรื่องอัศจรรย์ใจ จึงเกิดเป็น passion ของเรา สู่ ผลิตภัณฑ์
จาก วิถีพื้นบ้าน ที่เพาะปลูกแบบรักษาสิ่งแวดล้อม ต่อเนื่องเชื่อมโยงกับ ชุมชนแปรรูป ซึ่งเราเรียกรวมกันว่า "เกษตรพื้นบ้าน" (Folk Farm )

#HappyUncle นำผลผลิตจาก #FolkFarm มาเป็นวัตถุดิบตั้งต้น รังสรรค์สู่ 3 สายผลิตภัณฑ์ ได้แก่

กลุ่ม ขัาว ผลไม้สด
"อินทรีย์วิถีชุมชน"ืจากวิถืพ่อ เกษตรภูมิอัตลักษณ์ ได้แก่ ข้าว กล้วย มะม่วง มะพร้าว #FatherFootprintFarm

กลุ่ม ขนม
"อร่อยอย่างไทย" ตำรับโบราณ
#FarmToFork

กลุ่ม อโรม่า สกินแคร์
"อ่อนเยาว์จากไพร" ใช้ผลผลิตเกษตรเป็นวัตถุดิบตั้งต้น
#FromFarmToFace

ชื่อองค์กร
ชมรมเกษตรวิถีธรรมชาติ
ชื่อแบรนด์
Happy Uncle 
ผู้ก่อตั้ง
นาย สานิตย์ จิตต์นุพงศ์

ที่อยู่
53 หมู่10 บ้านวังชะโอน
ตำบล วังชะโอน อำเภอ บึงสามัคคี กำแพงเพชร
กำแพงเพชร 62210

ติดต่อเรา
Tel (66) 804501888
Line ID @happyuncleshop
Facebook:
HAPPY UNCLE FOLK FARM
IG: happyuncle_folkfarm

https://happyunclefolkfarm.com

วันอาทิตย์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2561

ทุนชุมชน

ทุน ที่ไม่ใช่ เงินทุน"ทุนชุมชน" 


"ทุนชุมชน" คือ สิ่งที่มีมูลค่ามากกว่า "เงินทูน" ได้แก่
ทุน จากธรรมชาติ ดิน และ น้ำ
ทุน จากภูมิปัญญาท้องถิ่น
ทุน จากการระดมสมอง
ทุน จากเครือข่ายระหว่างชุมชน 

แฮปปี้อังเคิล ระดม สินค้าชุมชนที่มี "ทุนชุมชน" ทำให้ผลิตภัณฑ์ของเรา อร่อยอย่างแตกต่างด้วยภูมิอัตลักษณ์ของพื้นที่

ได้แก่
ข้าว
กล้วย
น้ำผลไม้
ขนมพื้นบ้าน

บันทึกโดย
สานิตย์ จิตต์นุพงศ์



เกษตรอัตลักษณ์

รายงาน ผลผลิต เกษตรภูมิอัตลักษณ์ ของ ลุ่มน้ำแม่ปิง กลุ่มเกษตรวิถีธรรมชาติ และ เกษตรกรรมระยะปรับเปลี่ยน (เพื่อเข้าสู่มาตรฐานเกษตรอินทรีย์PGS)


1
กล้วยไข่ กำแพงเพชร
จาก แฮปปี้อังเคิล
Kluai Khai
Kamphaeng Phet
GI Banana
ข้อแตกต่าง กล้วยไข่กำแพงเพชร กับ กล้วยไข่ทั่วไป
1 ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
1.1 ผลขนาดเล็ก รูปร่างผลทรงกระบอกค่อนข้างกลม ไม่มีเหลี่ยม กว้างประมาณ 2-3 ซม. ยาว 8-10 ซม.
1 2 ผลในหวีไม่เรียงเสมอกัน แต่จะมีลูกระเกะระกะ
1 3เปลือกบางกว่ากล้วยไข่ทั่วไป
1.4 เมื่อใกล้สุกจะเห็นกระ จุดดำ เมื่อสุกกระจะเห็นชัด
2 ลักษณะทางรสชาติ
2.1 เนื้อแน่น รสชาติหวาน เคี้ยวนุ่มนวลและมีมวล
2.2 จุดกระ คือ หวานมาก ไม่ใช่ เชื้อรา หรือเนื้อเน่า

ฤดูกาลผลผลิตตาม ธรรมชาติ
เริ่มต้น เดือน สิงหาคม
ข่วงชุก เดือน กันยายน
ช่วงปลาย เดือน มกราคม


2
เกษตรนิเวศน์ ชุมชนต้นน้ำ คลองวังเจ้า
เกษตรแบบ ไร่นาสวนผสม เชิงนิเวศ บนพื้นที่ติดเขตวนอุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า อำเภอคลองลาน กำแพงเพชร ได้แก่
ผลไม้ และ กล้วยไข่ ปลูกเพื่อบริโภค เหลือแล้วจึงขาย

3
น้ำมันรำ ข้าวหอมมะลิ
เกษตรนิเวศน์ ชุมชนต้นน้ำ ป่าแม่วงษ์
เกษตรแบบผสมผสาน เชิงนิเวศ บนพื้นที่ติดวนอุทยานแห่งชาติฯแม่วงษ์ จังหวัดนครสวรรค์
ข้าว สมุนไพร ปลูกเพื่อบริโภค เหลือแล้วจึงขาย

4
ข้าวไรซ์เบอร์รี่
เมืองแม่สอด

จาก กลุ่ม สามัคคีแม่สอด
ปลูกบนพื้นที่ อำเภอแม่สอด สูงกว่าระดับน้ำทะเล700 เมตร บนนิเวศน์ ภูเขาถนนธงชัย เป็นข้าวปลอดสารเคมีื ระยะปรับเปลี่ยน (เพื่อเข้าสู่มาตรฐานเกษตรอินทรีย์PGS)

ผู้รายงาน
สานิตย์ จิิิ์นุพงศ์ตตต